หน้าหลัก

ผลการค้นหาจากอักษรล้านนา 'อุ้ย'

ออกเสียงล้านนาอักษรล้านนาเทียบอักษรไทยความหมาย
ก๊องอุ้ยค้อฯงอุ้ยฯ[ค้องอุ้ย]น.ฆ้องขนาดใหญ่ ดู...ก๊องเก้า
แม่อุ๊ยแม่อุ้,แม่อุ้ย์[แม่อุ๊ย]น.แม่อุ๊ย - ย่า(แม่ของพ่อ,ภรรยาของปู่), ยาย(แม่ของแม่,ภรรยาของตา), ญาติผู้หญิงชั้นเดียวกันกับย่าหรือยาย
ป้ออุ๊ยพํ่อฯอุ้ย,พํอฯอุ้[พ่ออุ๊ย]ป้ออุ๊ย - น.ตา (พ่อของแม่), ปู่ (พ่อของพ่อ), ชายชรา

ผลการค้นหาจากความหมาย 'อุ้ย'

ออกเสียงล้านนาอักษรล้านนาเทียบอักษรไทยความหมาย
ก๊องเก้าค้อฯงกั้า[ค้องเก้า]น.ฆ้องหึ่ง,ฆ้องหุ่ย - ฆ้องขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๙ กำมือ เวลาตีเสียงทุ้มดัง หึ่งๆ หรือ หุ่ยๆ; ก๊องอุ้ย ก็ว่า
ขาอุ้ยขาอุ้[ขาอุ้ย]น.โคนขา เช่น ขาอุ้ยก๋บ-โคนขากบ, ขาอุ้ยไก่-โคนขาไก่
เข้าหล้องเขั้าห้ลฯอฯง[เข้าหล้อง]ว.ตาย เช่น แม่อุ้ยเข้าหล้องแล้ว - คุณยายตายไปแล้ว
น้อยหนานน้อฯยฯหนฯานฯ[น้อยหนาน]น้อยหนาน น1.เรียกผู้สึกจากสามเณรว่า ''น้อย'' เพราะผู้ที่บรรพชาหรือบวชเป็นสามเณร ยังได้เล่าเรียนหลักธรรมคำสอนมาน้อย ประสบการณ์ด้านศาสนพิธีมีน้อย ปกติผู้บวชเณรจะเป็นเด็กๆ เมื่อสึกออกมาถือว่ายังน้อยทั้งความรู้ น้อยทั้งประสบการณ์ คนล้านนาเรียกว่าเป็น ''น้อย'' เช่นผู้เคยบวชเณรชื่อสี เมื่อสึกออกมาจะมีคำว่า ''น้อย'' อยู่หน้าชื่อ เช่น น้อยสี ปี้น้อยสี บ่าน้อยสี ไอ่น้อยสี น้าน้อยสี ลุงน้อยสี ป้อน้อยสี ป้อเสี่ยวน้อยสี หรือ ป้ออุ้ยน้อยสี ขึ้นอยู่กับอายุและ/หรือสถานะ; น2. ถ้าสึกจากผู้ที่ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เรียกว่า ''หนาน'' ซึ่งเป็นผู้มีทั้งความรู้ทั้งหลักธรรมคำสอน และด้านศาสนพิธีมากกว่า ''น้อย'' เพราะผู้ที่จะอุปสมบทต้องมีอายุครบ 20 ปี เป็นผู้ใหญ่ บรรุนิติภาวะ จึงถือว่าเป็น ''หนาน'' เช่น หนานมา พี่หนานมา พ่อหนานมา พ่ออุ๊ยหนานมา เป็นต้น: มีคำพังเพยว่า ''น้อย บ่ดีเป๋นปู่จ๋ารย์, หนาน บ่ดีเป๋นจ้างซอ'' หมายความว่า น้อย ไม่ควรเป็นมัคนายก ส่วน หนาน ไม่ควรเป็นช่างซอ เพราะช่างซอมักจะซอแบบใช้คำซอสองแง่สองง่าม เป็นที่ชื่นชอบของผู้ฟัง
ป่างกะด่างป่างฯกด่างฯ[ป่างกะด่าง]ก.พลัดล้ม,หกล้มไปด้านข้าง; สำ.ตาย เช่น แม่อุ้ยป่างกะด่างแล้ว - คุณยายตายไปแล้ว
ตุ้ยปีดีงามตุ้พีดีงามฯ[ตุ้ยพีดีงาม]ว.อ้วนท้วน,อ้วนพี; ตุ้ยลุ้ย,ตุ้ยอุ้ยลุ้ย ก็ว่า
อ (อ) ออกเสียงเป็น อ๋ะŽอ (อ๋ะ) เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และใช้ประสมกับเครื่องหมายอื่น ทำให้เกิดสระต่างๆ แม้ว่าจะผันกับเครื่องหมายวรรณยุกต์ได้เพียงสองรูป คือ "  " และ "  " แต่ก็สามารถผันเสียงได้ครบทั้งหกระดับเสียงเพราะบางรูปสามารถออกเสียงได้สองระดับกล่าวคือ "เป็นพยัญชนะสองเสียง" จะออกเสียงอย่างไรต้องพิจารณาตามข้อความในประโยคนั้นๆ ว่ามีความหมายอย่างไร เช่น อุ้ (อุ้ย) ผันด้วยวรรณยุกต์ "  " ออกเสียงได้สองระดับ ขาอุ้ (ขาอุ้ย), ค้อฯงอุ้ (ก๊องอุ้ย) มีความหมาย ใหญ่,โต ออกเสียงวรรณยุกต์ครึ่งโทครึ่งตรี; แม่อุ้ (แม่อุ้ย) หมายถึง ย่า หรือ ยาย ออกเสียงวรรณยุกต์ตรี : ผ฿มฯออฯ (ผมอ๋อย - ผมบาง)ออกเสียงวรรณยุกต์จัตวา; ออฯมอฯ (ออยมอย - น่ารัก) ออกเสียงวรรณยุกต์สามัญ เป็นต้น
อุ๊ยอุ้[อุ๊ย]น.เรียกบิดาหรือมารดาของพ่อแม่หรือผู้มีศักดิ์เสมอนั้นว่า พ่ออุ้ย แม่อุ้ย
อุ้ยลุ้ยอุ้ลุ้[อุ้ยลุ้ย]ว.อ้วนท้วน,อ้วนพี; ใช้ตามหลัง ตุ้ย เป็น ตุ้ยอุ้ยลุ้ย; ตุ้ยปีดีงาม ก็ว่า
อุ้ย (เสียงตรีเพี้ยน)อุ้[อุ้ย]น.โคนขาเช่น ขาอุ้ยก๋บ-โคนขาของกบ, ขาอุ้ยไก่ - โคนขาของไก่
หมายมีหมฯายฯมี[หมายมี]ว.กล่าวคือ,อาทิ มักใช้ในการกล่าวเวนทาน เช่น หมายมีแม่อุ้ยคำเป๋นเก๊า