หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
น้อยหนาน
อักษรล้านนา
น้อฯยฯหนฯานฯ
เทียบอักษรไทย
[น้อยหนาน]
ความหมาย

น้อยหนาน น1.เรียกผู้สึกจากสามเณรว่า ''น้อย'' เพราะผู้ที่บรรพชาหรือบวชเป็นสามเณร ยังได้เล่าเรียนหลักธรรมคำสอนมาน้อย ประสบการณ์ด้านศาสนพิธีมีน้อย ปกติผู้บวชเณรจะเป็นเด็กๆ เมื่อสึกออกมาถือว่ายังน้อยทั้งความรู้ น้อยทั้งประสบการณ์ คนล้านนาเรียกว่าเป็น ''น้อย'' เช่นผู้เคยบวชเณรชื่อสี เมื่อสึกออกมาจะมีคำว่า ''น้อย'' อยู่หน้าชื่อ เช่น น้อยสี ปี้น้อยสี บ่าน้อยสี ไอ่น้อยสี น้าน้อยสี ลุงน้อยสี ป้อน้อยสี ป้อเสี่ยวน้อยสี หรือ ป้ออุ้ยน้อยสี ขึ้นอยู่กับอายุและ/หรือสถานะ; น2. ถ้าสึกจากผู้ที่ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เรียกว่า ''หนาน'' ซึ่งเป็นผู้มีทั้งความรู้ทั้งหลักธรรมคำสอน และด้านศาสนพิธีมากกว่า ''น้อย'' เพราะผู้ที่จะอุปสมบทต้องมีอายุครบ 20 ปี เป็นผู้ใหญ่ บรรุนิติภาวะ จึงถือว่าเป็น ''หนาน'' เช่น หนานมา พี่หนานมา พ่อหนานมา พ่ออุ๊ยหนานมา เป็นต้น: มีคำพังเพยว่า ''น้อย บ่ดีเป๋นปู่จ๋ารย์, หนาน บ่ดีเป๋นจ้างซอ'' หมายความว่า น้อย ไม่ควรเป็นมัคนายก ส่วน หนาน ไม่ควรเป็นช่างซอ เพราะช่างซอมักจะซอแบบใช้คำซอสองแง่สองง่าม เป็นที่ชื่นชอบของผู้ฟัง

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
น้อยหนาน (น้อฯยฯหนฯานฯ)