พจนานุกรม
ภาษาล้านนา-ไทย, ไทย-ล้านนา
โดย อ.จรีย์ สุนทรสิงห์
ออกเสียงล้านนา | อักษรล้านนา | เทียบอักษรไทย | ความหมาย |
---|---|---|---|
อื่อ | อื่ | [อื่อ] | น.ชื่อทำนองเพลงกล่อมเด็ก ก๑.การขับกล่อม ก๒.ส่งเสียงขานรับรู้ หรืออนุญาต; เอ่อ ก็ว่า |
ดังแม็บ | ดังฯแมัปฯ | [ดังแม็บ] | น.จมูกแฟบ,จมูกยุบ; ดังแหม๋บ ก็ว่า |
ขะไจ๋เต๊อะ | ขไจเทิอฯะ | [ขะไจเทอะ] | ก.เร็วขึ้นอย่ามัวแต่ชักช้า |
หอมนวล | หอฯมนวฯล์ | [หอมนวล] | น.ลำดวน - ไม้ต้น ดอกคล้ายดอกนมแมว แต่กลีบหนาและแข็งกว่า เมื่อบานปลายกลีบดอกชั้นนอกจะโค้งกลับไปทางโคนดอก มีกลิ่นหอม. |
สะหลู | สๆลฯ | [สลู] | น.ปีฉลู - ชื่อของปีนักษัตรที่มีรูปวัวเป็นสัญลักษณ์ |
สันนั้น | สันฯนั้ | [สันนั้น] | ว.ฉันนั้น,เช่นนั้น |
โหลน | โห฿ลฯร | [โหลน] | คำว่า ''โหลน'' ไม่มีที่ใช้และไม่มีความหมายอะไร แต่คำนี้ปรากฏในบทเพลงปลุกใจเพลงหนึ่ง เนื้อร้องมีว่า ''...ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย...'' ข้อความดังกล่าวทำให้เข้าใจได้ว่า ''โหลน'' น่าจะเป็นลูกของ ''เหลน'', คำที่ใช้เรียกวงศาคณาญาติของไทย(ไทยกลาง) เพื่อให้เข้าใจถึงลำดับญาติ มีดังนี้:- ''เทียด'' เป็นพ่อและแม่ของ ทวด, ''ทวด'' เป็นพ่อและแม่ของ ปู่ย่าตายาย, ''ปู่กับย่า'' เป็นพ่อกับแม่ของ พ่อ, ''ตากับยาย'' เป็นพ่อกับแม่ของ แม่, ''พ่อกับแม่'' เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ ลูก, ''ลูก'' เป็นผู้มีกำเนิดจาก พ่อแม่, ''หลาน'' เป็นลูกของ ลูก, ''เหลน'' เป็นลูกของหลานที่เป็นลูกของลูก, ''ลื่อ'' เป็นลูกของ เหลน, ''ลืบ'' เป็นลูกของ ลื่อ, ''ลืด'' เป็นลูกของ ลืบ, แล้ว ''โหลน'' เป็นอะไร เป็นลูกของใคร; ดู...ลูก |
หมูหำต้อก | หูหำทอฯก | [หมูหำทอก] | น.หมูที่ลูกอัณฑะข้างเดียว |
ต๋องก้วยงำเคือ | ตอฯงก้ลฯวฯงำเระฯคิอฯอ | [ตองกล้วยงำเครือ] | น.ใบตองใบเล็กๆใบสุดท้ายที่คลุมบนเครือกล้วย |
เล็บมืนหลวง | เลัปฯมืนฯหลฯวฯง | [เล็บมืนหลวง] | ดู...ลับมืนหลวง |