ออกเสียงล้านนา | อักษรล้านนา | เทียบอักษรไทย | ความหมาย |
---|---|---|---|
อิ๋ด | อิดฯ | [อิด] | ก.เหนื่อย,เมื่อยล้า,เหนื่อยอ่อน,อ่อนเพลีย,อิดโรย; อิ๋ดอ่อน ก็ว่า |
บ่าหุ่ง | บ่าฯหุ่ง | [บ่าหุ่ง] | น.ละหุ่ง - ไม้พุ่ม มียางใส ผลไม่มีหนาม มักปลูกเป็นรั้วบ้าน ทุกส่วนเป็นพิษ น้ำมันที่ห..บจากเมล็ดใช้เป็นเชื้อเพลิงและหล่อลื่นได้; บ่าหุ่งฮั้ว,บ่าโห่ง,บ่าโห่งฮั้ว ก็ว่า |
เหื่อปังดังย้อย(ดัง-จมูก) | เหิ่อฯอพังฯดังฯย้อฯยฯ | [เหื่อพังดังย้อย] | ว.เหงื่อไหลขี้มูกตก - เหน็ดเหนื่อยเพราะออกแรงมาก |
หอกโจก | หอฯกโจ฿กฯ | [หอกโจก] | น.หอกซัด - หอกด้ามสั้น ไช้พุ่งหรือซัดไป |
ปี๋ตั๋วเปิ้ง | ปีต฿วฯเพิ่งฯ | [ปี๋ตั๋วเปิ้ง] | น.นักษัตรปีเกิด หรือ ปีนักษัตร ภาษาถิ่นพายัพ(คำเมือง)เรียก ''ปี๋ตั๋วเปิ้ง''; นักษัตรปีเกิด หรือ ปี๋ตั๋วเปิ้ง - เป็นปีตามสุริยคติ ไทยและชาติอื่นในเอเชียตะวันออก เช่น จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม แบ่งเป็นรอบปี รอบละ 12 ปี แต่ละปีกำหนดสัตว์เรียกเป็นชื่อเรียงกันไปดังนี้ 1.ปีชวด-ปีหนู-ปี๋ไจ้ 2.ปีฉลู-ปีวัว-ปี๋เหม้า 3.ปีขาล-ปีเสือ-ปี๋ยี 4.ปีเถาะ-ปีกระต่าย-ปี๋เหม้า 5.ปีมะโรง-ปีงูใหญ่-ปี๋สี 6.ปีมะเส็ง-ปีงูเล็ก-ปี๋ไส้ 7.ปีมะเมีย-ปีม้า-ปี๋สะง้า 8.ปีมะแม-ปีแพะ-ปี๋เม็ด 9.ปีวอก-ปีลิง-ปี๋สัน 10.ปีระกา-ปีไก่-ปี๋เล้า 11.ปีจอ-ปีสุนัข-ปี๋เส็๋ด 12.ปีก..น-ปีหมู/ช้าง-ปี๋ไก๊ (ปี๋...เป็นชื่อปีของล้านนา) สำหรับคนไทยนั้นเริ่มต้นปีนักษัตรใหม่เริ่มจากวันปีใหม่ไทยหรือวันสงกรานต์ (ถิ่นเหนือ-วันพญาวัน) เป็นวันเถลิงศกคือวันขึ้นปีใหม่ คนไทยสมัยก่อนจึงมักจำปีเกิดเป็นปีนักษัตร (ปี๋ตั๋วเปิ้ง); ดู...ตั๋วเปิ้ง |
เขก | เขกฯ | [เขก] | ก.บังคับ,รัง..ก,ข่มขู่ทารุณ |
เตี่ยวหม้อห้อม | ต่ยฯวหํมฯอฯห้อฯม | [เตี่ยวหม้อห้อม] | น.กางเกงพื้นเมืองที่เย็บด้วยผ้าหม้อห้อม คือผ้าฝ้ายที่ย้อมด้วยน้ำห้อม สีน้ำเงินอมดำ |
ขนบืกๆ | ข฿นฯบืๆกฯ | [ขนบืกๆ] | ก.กรนเสียงดังครืดๆ |
ปาดเปี่อง | ระฯบาฯดฯเระฯบิ่อฯง | [ปราดเปรื่อง] | ว.มีความคิดฉลาดหลักแหลม; เปื่องปาด ก็ว่า |
อู่ | อู่ | [อู่] | น๑.เปลนอนของทารกหรือเด็กเล็ก น๒.สถานที่ซ่อมยานพาหนะ เช่น อู่เรือ อู่รถ ก.ใช้ปากเป่าหรือพ่นลมหรือควันเข้าไปในที่เฉพาะ เช่น อู่ลูกโป่ง - เป่าลูกโป่ง, อู่ควันมูลีไล่แมงพริ้ง - พ่นควันบุหรี่ไล่แมลงหวี่. |