หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
ไม้ลมแล้ง
อักษรล้านนา
ไม้ล฿มฯแล้งฯ
เทียบอักษรไทย
[ไม้ลมแล้ง]
ความหมาย

น.ราชพฤกษ์ มีการเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น ส่วนใหญ่เรียกราชพฤกษ์ว่า ''คูน'' เนื่องจากจำง่ายกว่า แต่มักจะเขียนผิดเป็น ''คูณ'' ราชพฤกษ์เป็น ''ดอกไม้'' และ ''ต้นไม้'' ประจำชาติของ''ประเทศไทย'' ถิ่นภาคเหนือเรียก ''ลมแล้ง'' ราชพฤกษ์มีความเกี่ยวข้องกับประเพณีชาวไทยมาอย่างช้านาน เพราะเป็นไม้มงคลนาม ใช้ในการประกอบพิธีสำคัญๆ ต่างๆ หลายพิธี เช่นพิธีลงเสาหลักเมือง ใช้ทำยอดธงชัยเฉลิมพล เป็นต้น: - ราชพฤกษ์ หรือ ลมแล้ง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดเล็กถึงกลาง มีความสูงของลำต้นได้มากกว่า ๑๒ เมตร แตกกิ่งในระดับต่ำ ทอดกิ่งในแนวตั้งขึ้นด้านบน ทรงพุ่มโปร่งแบนกว้าง เปลือกลำต้นสีเทา ดอกราชพฤกษ์(ดอกคูน) สีเหลืองซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชาติไทย เป็นสัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนา ออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 20-25 ซ.ม. กลีบรูปไข่ 5 กลีบ ผลมีลักษณะเป็นฝักรูปทรงกระบอกเกลี้ยง ยาวประมาณ 20-60 ซ.ม. เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-2.5 ซ.ม. เมื่อแก่จัดจะเป็นสีดำ แขวนลงมาจากกิ่ง ในฝักมีเมล็ดสีน้ำตาลแบนๆ อยู่ในช่องว่างตามแนวยาวของฝัก ช่องละ ๑ เมล็ด

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
ไม้ลมแล้ง (ไม้ล฿มฯแล้งฯ)