หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
แม่จ้าง
อักษรล้านนา
แม่ช่างฯ
เทียบอักษรไทย
[แม่ช่าง]
ความหมาย

น.หมอตำแย ภาษาถิ่นเหนือเรียก ''แม่จ้าง หรือ แม่จั้ง'' - หญิงที่ทำคลอดลูกตามแผนโบราณ คำว่า ''ตำแย'' พบในสมุดไทยโบราณ คัมภีร์ประถมจินดา ที่สืบเนื่องมาจากตำราอายุรเวชของสำนักตักสิลา เมืองอินเดียเก่าแก่เป็นพันปี ที่พระมหาเถรเจ้าผู้ชื่อว่า ''ตำแย'' เป็นผู้รจนา หมอทำคลอดรุ่นหลังคนไหนมาใช้คัมภีร์ประถมจินดา ของพระมหาเถรเจ้าตำแยผู้นี้ในการออกลูกของคน จะต้องบูชาบวงสรวงพระมหาเถรเจ้าตำแยก่อน จึงจะทำงานได้สำเร็จ; แม่จั้ง ก็ว่า

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
แม่ช่าง (แม่ช่างฯ)