หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
เอื้องเผิ้ง
อักษรล้านนา
เอิ้อฯงเผิ้งฯ
เทียบอักษรไทย
[เอื้องเผิ้ง]
ความหมาย

น.เอื้องผึ้ง ภาษาถิ่นล้านนาเรียก ''เอื้องเผิ้ง'': เอื้องผึ้ง หรือ เอื้องเผิ้ง - เป็นกล้วยไม้ หรือ ดอกเอื้องที่มีความผูกพันกับท้องถิ่นทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาช้านาน มีกลิ่นหอมอันพิเศษราวกับน้ำผึ้ง จึงถูกขนานนามว่า ''เอื้องผึ้ง'' กลิ่นของมันได้รับความสนใจอย่างมากจากนักสกัดกลิ่น เพื่อนำไปใช้เป็นน้ำหอมอันล่ำค่าในยุคปัจจุบัน ลักษณะต้นของเอื้องผึ้งจะมีผิวลำลูกกล้วยคล้ำเป็นสีเขียวเข้ม, ใบ กลมรี หนา และที่ดูง่ายที่สุดคือ 1 ลำลูกกล้วยจะมีเพียง 1 ใบเท่านั้น, ดอก ออกเป็นช่อห้อยย้อยลง ยาว 15-40 ซ.ม. เมื่อบานเต็มที่ขนาด 2-3 ซ.ม. แรกบานสีเหลืองอมเขียว จะเข้มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นสีเหลืองอมส้ม พริ้วไหวได้ง่ายยามต้องลม จะบานได้นานสุดราว 4-5 วัน นับจากวันที่บานเต็มที่ หากถูกน้ำจะบานได้เพียง 2-3 วันเท่านั้น, เอื้องผึ้งจะออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์เราจะเห็นสาวชาวเหนือเอา ''เอื้องเผิ้ง'' เหน็บมวยผมเล่นสาดน้ำกันเป็นประจำ

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
เอื้องเผิ้ง (เอิ้อฯงเผิ้งฯ)