หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
เลี้ยงผีปู่ย่า
อักษรล้านนา
ล้ยฯงผีปู่ย่า
เทียบอักษรไทย
[เลี้ยงผีปู่ย่า]
ความหมาย

ก.การเลี้ยงผีประจำตระกูล มีการเลี้ยงตามประเพณี - การเลี้ยงที่จัดขึ้นเป็นประจำในแต่ละปี มักเป็นช่วงเวลาก่อนเข้าพรรษา ประมาณกลางเดือน ๗ (เดือน ๙ เหนือ) สมาชิกในตระกูลจะเตรียมดอกไม้ธูปเทียน น้ำเข้าหมิ้นส้มป่อย มี "เหล้าไหไก่คู่" (ปัจจุบันใช้ขวดแทนไห) และ หัวหมู พร้อมทั้งเครื่องเซ่น มีข้าว น้ำ อาหาร ของหวาน ผลไม้ ที่สมากชิกในตระกูลนำมาใส่ภาชนะรวมกันวางบนโต๊ะหน้าหิ้งที่สถิตของผีภายในมุมห้องนอนด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สมาชิกในตระกูลทั้งหมด มีผู้รับสืบทอดเป็นประธาน กล่าวคำขอให้ผีปู่ย่าช่วยคุ้มครองดูแลคนในตระกูลมีความสุขความเจริญ ฮิมาก๊าขึ้น ส่วนการเลี้ยงตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น - เป็นการขอขมาผีปู่ย่า เพื่อขอยกโทษที่ได้กระทำผิด"ฮีต" เช่นเมื่อสมาชิกในตระกูล โดยเฉพาะฝ่ายหญิง หากประพฤติผิดจารีตประเพณี ถ้าเป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรง ก็ให้นำดอกไม้ธูปเทียน น้ำเข้าหมิ้นส้มป่อยใส่พานไปขอสูมา ขอยกโทษที่ได้ทำผิด หากเป็นความผิดที่ร้ายแรง เช่นมีเจตนาให้ชายถูกเนื้อต้องตัว เป็นการผิดผี ต้องมีการเลี้ยงผี ส่วนฝ่ายชายต้อง "เสียผี" ดู...ผีปู่ย่า แล

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
เลี้ยงผีปู่ย่า (ล้ยฯงผีปู่ย่า)