หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
เข้าเหม้าทอด ออกเสียง เข้าเหม้า ทอด
อักษรล้านนา
เขั้าเหั้มฯาทอฯด
เทียบอักษรไทย
[เข้าเหม้าทอด]
ความหมาย

น.ข้าวเม่าทอด - ชาวถิ่นเหนือนิยมเรียก ''เข้าเหม้า'' เฉยๆ: เข้าเหม้า ของชาวเหนือ ซึ่งหมายถึง ''ข้าวเม่าทอด'' ได้แก่ขนมชนิดหนึ่ง ใช้ข้าวเม่าตำคลุกกับมะพร้าวขูดและน้ำตาลปีบ หุ้มกล้วยไข่สุก ชุบแป้งทอดให้ติดกันเป็นแพๆ แล้วโรยด้วยแป้งทอด: ขนมไทยนิยมกินมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในอดีตตอนหน้าน้ำแม่ค้าทำขนมต่างๆใส่เรือมาขาย มีพวกข้าวโพดคั่ว ถั่วลิสงต้ม และที่มีมากที่สุดก็คือ ''ข้าวเม่าทอด'' ขนมนี้มีกล่าวถึงใน นิราศน้ำท่วมใหญ่ ในปี พ.ศ.2460 ตอนหนึ่งว่า ''พวกแม่ค้ามาขาย ข้าวเม่าทอด ตังเมหลอด น้ำยา แกงปลาไหล'' เป็นต้น; ดู...เข้าเหม้า

ออกเสียงล้านนา
เข้าเหม้า ออกเสียง เข้าเหม้า
อักษรล้านนา
เขั้าเหั้มฯา
เทียบอักษรไทย
[เข้าเหม้า]
ความหมาย

น.ข้าวเม่า - ภาษาล้านนา หรือ คำเมือง เรียกว่า ''เข้าเหม้า'' ออกเสียงตรีเพี้ยน ระดับเสียงนี้ไม่มีในภาษาไทยกลาง; ข้าวเม่า หรือ เข้าเหม้า คือข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัด อยู่ในช่วงที่เลยระยะน้ำนม ข้าวเริ่มแข็งตัวเป็นเม็ด มีสีขาว และห่อหุ้มด้วยเยื่อบางๆสีเขียว ซึ่งเยื่อสีเขียวนี้เมื่อข้าวแก่จะกลายเป็นสีน้ำตาล และกลายเป็นรำ นำมาตำ หรือทุบ จนเม็ดข้าวแบน ฝัดเปลือกและปลายข้าวทิ้ง: ข้าวเม่า นำมาทำขนมได้หลายอย่าง เช่น ข้าวเม่าคลุก ข้าวเม่าทอด ข้าวเม่าราง เป็นต้น; ดู...เข้าเหม้าทอด

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
เข้าเหม้าทอด (เขั้าเหั้มฯาทอฯด)