หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
เข้าอินทะขีล
อักษรล้านนา
เขั้า±นทฯขี
เทียบอักษรไทย
[เข้าอินทขีล]
ความหมาย

น.ประเพณีบูชาเสาหลักเมืองเชียงใหม่ ชื่อว่าเสาอินทขีล เสาหลักเมืองเดิมมีมาตั้งแต่ครั้งสร้างเมืองเชียงใหม่ ประดิษฐาน ณ วัดอินทขีล(วัดสะดือเมือง) พระเจ้ากาวิละเจ้าหลวงเชียงใหม่องค์แรก ได้ย้ายมาประดิษฐาน ณ วัดเจดีย์หลวง วรวิหารจนถึงปัจจุบัน พิธีบูชาเสาอินทขีลนี้ เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ (เดือน ๖ ของภาคกลาง) เรียกว่า "เข้าอินทขีล" ถึงขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ(เดือน ๗ ของ ภาคกลาง) เรียกว่า "ออกอินทขีล" รวม ๗ วัน นั่นคือ "เดือน ๘ เข้าอินทขีล เดือน ๙ ออกอินทขีล" เรียกสั้นๆ ว่า "แปดเข้าเก้าออก" บริเวณเสาอินทขีลจะมีขันดอกวางเรียงไว้รองรับดอกไม้ที่ประชาชนนำไปบูชาเรียกว่า "ใส่ขันดอก" ดังนั้นประเพณีบูชาเสาหลักเมืองเชียงใหม่ จึงมีชื่อว่า "เข้าอินทขีล" หรือ "ใส่ขันดอก"

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
เข้าอินทะขีน (เขั้า±นทฯขี)