หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
ปากปอเป๋นป้อด
อักษรล้านนา
ปากฯพํอฯเปนฯพอฯด
เทียบอักษรไทย
[ปากพอเปนพอด]
ความหมาย

สำ.ปากเปียกปากแฉะ - ภาษาถิ่นเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า ''ปากปอเป๋นป้อด''; เป็นสำนวนสุภาษิต หมายถึง การสั่งสอนหรือว่ากล่าวตักเตือนซ้ำแล้วซ้ำอีก หลายครั้งหลายรอบ แต่ผู้ฟังหรือผู้ได้รับการสอนอบรมก็ไม่ได้นำพา หรือไม่ได้เข้าใจปฏิบัติตาม ซึ่งอาจจะเกิดจากความไม่ใส่ใจ ความไม่เข้าใจ ความขี้เกียจ หรือความรั้นของผู้เรียน เปรียบได้กับว่าผู้สอนได้สอนจน ''ปากเปียกปากแฉะ'' หรือ ''ปากปอเป๋นป้อด'' นั่นเอง เปรียบดัง ''ปากป้อด'' ของกบจำศีล; ดู...ป้อด

ออกเสียงล้านนา
ป้อด
อักษรล้านนา
พอฯด
เทียบอักษรไทย
[พอด]
ความหมาย

น.ป้อด - โพรงใต้ดิน หรือโคลน ตามบ่อ คู ทุ่งนา ที่สัตว์บางชนิด เช่น กบ ขุดรูลงไปฝังตัวอยู่อย่างสงบ นอนนิ่ง หลับตา ปิดรูจมูก และหุบปากสนิท หายใจทางผิวหนังเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้สูญเสียพลังงานในตัวน้อยที่สุด อาหารที่ใช้เลี้ยงตัวเองในระหว่างนี้ จะได้จากไขมันที่สะสมอยู่ภายในร่างกาย จึงเรียกการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมนี้ว่า ''กบจำศีล''; ปากรูที่ขุดลงไปหาโพรง เรียก ''ปากป้อด'' มีดินโคลนเปียกชื้นกองพูนอยู่รอบๆ ปากรู เห็นได้อย่างชัดเจน

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
ปากปอเป๋นป้อด (ปากฯพํอฯเปนฯพอฯด)