หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
บ่าหนุน
อักษรล้านนา
บ่าฯหนฯร
เทียบอักษรไทย
[บ่าหนุน]
ความหมาย

น.ขนุน ภาษาถิ่นเหนือ(กำเมือง)เรียก ''บ่าหนุน'': ขนุน หรือ บ่าหนุน - ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร ทรงพุ่มรูปทรงกระบอก ทุกส่วนของต้นมียางสีขาว เป็นไม้เนื้ออ่อน แก่นสีเหลือง ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปรี โคนใบมนปลายใบทู่ถึงแหลม สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อแท่งกลมยาว ออกตามลำต้นหรือกิ่งขนาดใหญ่ ผลมีขนาดใหญ่ หนึ่งในผลใหญ่จะมีผลย่อยอยู่หลายผล ผิวมีหนามสั้น เนื้อหุ้มเมล็ดสีเหลือง เมื่อสุกมีกลิ่นหอม รสหวาน เมล็ดมีจำนวนมาก ค่อนข้างกลมหรือขอบขนาน: เนื้อไม้ใช้ทำพื้นเรือนหรือสิ่งก่อสร้าง, ใบอ่อนกินสดหรือลวกจิ้มน้ำพริก, ผลอ่อนใช้ทำอาหาร ผลสุกกินเป็นผลไม้, เมล็ดต้มสุกกินเป็นผลไม้,บำรุงน้ำนมสตรีหลังคลอด, น้ำยางใช้เป็นสารเคลือบวัตถุ หรือผสมกับยางไม้อื่นเพื่อทำเป็นตังดักนก ดักจับจั๊กจั่น เป็นต้น

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
บ่าหนุน (บ่าฯหนฯร)