หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
ดอกส้มสุ๋ก
อักษรล้านนา
ดอฯกส้฿มฯสุก
เทียบอักษรไทย
[ดอกส้มสุก]
ความหมาย

น.ดอกโศก/ต้นโศก (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ดอกอโศก/ต้นอโศก) - ภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า ''ดอกส้มสุ๋ก/ต้นส้มสุ๋ก''; ดอกโศก/ต้นโศก/ดอกส้มสุ๋ก - เป็นต้นไม้ที่ชาวไทยเรียกชื่อว่า ''โศก'' มีหลายชนิด แต่ ''โศก'' ที่รู้จักกันกว้างขวางที่สุดตั้งแต่อดีตก็คือ ''โศก''อันมีกำเนิดจากประเทศอินเดีย ซึ่งคนอินเดียเรียกว่า ''อโศก'' เมื่อนำมาเมืองไทยคนไทยเรียกสั้นลงว่า ''โศก'' ทำให้ความหมายเปลี่ยนไปเป็นตรงข้าม จากไม่มีโศก(อโศก) เป็นโศกเศร้า(โศก) ต้นและดอกอโศกที่ถือเป็นไม้มงคลในประเทศอินเดีย ซึ่งต่างจากประเทศไทยที่ถือว่าไม่เป็นมงคล ห้ามปลูกในบริเวณบ้าน เนื่องจากมีชื่อเกี่ยวกับความโศกเศร้า นิยมปลูกตามวัดมากที่สุด:- โศก/ส้มสุ๋ก เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 5-20 เมตร เรือนยอดทรงกลมพุ่มทึบ ปลายกิ่งห้อยย้อยลู่ลง เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลเข้ม, ใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 1-7 คู่ รูปรี รูปไข่ รูปหอก หรือรูปขอบขนาน โคนใบกลม ปลายมนหรือแหลม เป็นรูปหัวใจหรือรูปลิ่ม, ดอกเป็นช่อ ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง สีแสดจนถึงแดง กลีบเลี้ยงเป็นหลอดเรียวยาว, ผลเป็นฝักแบน รูปไข่หรือรีแกมขอบขนาน เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก ในฝักมีเมล็ด 1-3 เมล็ด: ''ต้นโศก/ดอกโศก'' ความหมายมีแต่ความทุกข์ ความเศร้า จึงเปลี่ยนชื่อเป็น ''อโศก'' ดังชื่อเดิมที่เป็นมงคลตามที่เรียกกันในประเทศอินเดีย; อโศก เป็นพืชสมุนไพร มีสรรพคุณใช้ทำยาได้หลายอย่าง เช่น ดอกมีกลิ่นหอม มีรสอมเปรี้ยว ใช้ทำยาบำรุงธาตุ ยาแก้ไอ ยาขับเสมหะ เปลือกและรากปรุงเป็นยาบำรุงโลหิต เป็นต้น ใบอ่อนและดอก นำมาประกอบอาหาร ทำแกงส้ม ยำ หรือรับประทานเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก; มีบ้างที่เอา ''อโศก'' ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป ตามสวนสาธารณะ เพราะมีทรงพุ่มสวย ดอกมีสีสันสวยงาม แต่ไม่นิยมปลูกตามบ้าน: เมื่อ ''ดอกโศก'' ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ''ดอกอโศก'' แล้ว ไม่นานเกินรอคงจะเห็น ''ดอกอโศก'' หรือที่คนล้านนาเรียก ''ดอกส้มสุ๋ก'' บานสะพรั่งทั่วแคว้นแดนไทย ดังที่เราได้เห็น ''ดอกลีลาวดี'' ที่เปลี่ยนชื่อมาจาก ''ดอกลั่นทม'' แน่นอน

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
ดอกส้มสุ๋ก (ดอฯกส้฿มฯสุก)