หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
กอมก้อขาว
อักษรล้านนา
คอฯมคํอฯขาวฯ
เทียบอักษรไทย
[คอมค่อขาว]
ความหมาย

น.แมงลัก - ภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) เรียก ''กอมก้อขาว''; แมงลัก ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายโหระพา ต่างกันที่กลิ่น ใบสีเขียวอ่อนกว่าโหระพา ลำต้นสูง 2-3 ฟุต แตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม, ใบเดี่ยว กลมรี ปลายใบแหลม สีเขียวอ่อน มีขนนิ่ม กลิ่นหอม, ดอกออกเป็นช่อ ตามบริเวณปลายกิ่ง หรือยอด กลีบสีขาว คงทน อยู่ได้นาน, ผล เมื่อกลีบดอกร่วงก็จะเป็นผล ขนาดเล็ก สีน้ำตาลเข้ม ในผลมีเมล็ด 4 เมล็ด: แมงลักเป็นพืชสมุนไพร ลำต้น ใบ เมล็ด มีสรรพคุณใช้ทำยาได้หลายชนิด ใบแมงลักมีกลิ่นหอม ทั้งใบและเมล็ดใช้ประกอบอาหารเช่นเดียวกับกระเพราและโหระพา ช่วยดับคาว และเพิ่มความหอมของอาหารได้ดี นิยมใช้รับประทานกับขนมจีน หรือใส่แกงต่างๆ เช่น แกงเลียง แกงหน่อไม้ ห่อหมก แกงอ่อม เป็นต้น

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
กอมก้อขาว (คอฯมคํอฯขาวฯ)