น๑.กะเหรี่ยง/ปกาเกอะญอ - ภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) เรียก ''ยาง''; กะเหรี่ยง/ปกาเกอะญอ หรือ ยาง เป็นชาวเขากลุ่มใหญ่ที่สุด อาศัยอยู่หนาแน่นในบริเวณพื้นที่ป่าทางทิศตะวันตกของประเทศไทยบริเวณชายแดนไทย-เมียนมาร์ กระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ครอบคลุม 18 จังหวัด คือ 7 จังหวัดในภาคตะวันตก ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี อุทัยธานี และภาคเหนือ 11 จังหวัด ประกอบด้วย กำแพงเพชร สุโขทัย ตาก แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ พะเยา และเชียงราย; รวมประชากรทั้งหมดในปี พ.ศ. 2560 ใน 1,930 กลุ่มบ้าน 125,673 หลังคาเรือน จำนวน 549,395 คน (รายงานโครงการสำรวจข้อมูลชุมชนกะเหรี่ยง โดยเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ:- กะเหรี่ยง/ปกาเกอะญอ มีชื่อเรียกหลากหลาย โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ใกล้ชิดอย่างชาวไทใหญ่และไทยวน (คนเมืองในล้านนา) มักจะเรียกว่า ''ยาง'' ประกอบด้วย ''ยางขาว'' ใช้เรียกกะเหรี่ยงสกอร์และกะเหรี่ยงโปว์, ''ยางเผือก'' ไม่ทราบที่มา, ''ยางเปียง'' เป็นคำที่หมู่คนชาวเหนือ(ชาวล้านนา)เรียก โดยคำว่า ''เปียง'' ภาษาล้านนาแปลว่า ''ที่ราบ'' ดังนั้น ยางเปียง จึงหมายถึงกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ตามบริเวณที่ราบ; ยางกะเลอ เรียกกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่บริเวณป่า เนินเขา หรือชายเขา; ''ยางป่า'' เรียกกะเหรี่ยงในหมู่ชาวไทย; กะหร่าง คนไทยในประจวบคีรีขันธ์ใช้เรียกกะเหรี่ยงทุกกลุ่ม; ''บามาคะยิน-Bama Kayin'' กะเหรี่ยงพม่า; ''ตาเลงคะยิน-TaLiang Kayin'' กะเหรี่ยงมอญ; ''กะเรง'' เป็นคำเรียกกะเหรี่ยงสะกอร์ในหมู่ชาวมอญ; น๒.นกยาง - นกชนิดหนึ่ง ปากแหลม ขายาว มีทั้งชนิดสีขาว สีเขียว สีน้ำตาล สีดำชอบหากินตามทุ่งนาชายน้ำ กินปลา แมลง สัตว์น้ำขนาดเล็ก ถ้าเขียน อฺยฺาง หมายถึงกาวหรือยางเหนียวหรือผลิตผลจากยางพารา; ดู...ยาง
น๑.กะเหรี่ยง/ปกาเกอะญอ - ภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) เรียก ''ยาง''; กะเหรี่ยง/ปกาเกอะญอ หรือ ยาง เป็นชาวเขากลุ่มใหญ่ที่สุด อาศัยอยู่หนาแน่นในบริเวณพื้นที่ป่าทางทิศตะวันตกของประเทศไทยบริเวณชายแดนไทย-เมียนมาร์ กระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ครอบคลุม 18 จังหวัด คือ 7 จังหวัดในภาคตะวันตก ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี อุทัยธานี และภาคเหนือ 11 จังหวัด ประกอบด้วย กำแพงเพชร สุโขทัย ตาก แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ พะเยา และเชียงราย; รวมประชากรทั้งหมดในปี พ.ศ. 2560 ใน 1,930 กลุ่มบ้าน 125,673 หลังคาเรือน จำนวน 549,395 คน (รายงานโครงการสำรวจข้อมูลชุมชนกะเหรี่ยง โดยเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ:- กะเหรี่ยง/ปกาเกอะญอ มีชื่อเรียกหลากหลาย โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ใกล้ชิดอย่างชาวไทใหญ่และไทยวน (คนเมืองในล้านนา) มักจะเรียกว่า ''ยาง'' ประกอบด้วย ''ยางขาว'' ใช้เรียกกะเหรี่ยงสกอร์และกะเหรี่ยงโปว์, ''ยางเผือก'' ไม่ทราบที่มา, ''ยางเปียง'' เป็นคำที่หมู่คนชาวเหนือ(ชาวล้านนา)เรียก โดยคำว่า ''เปียง'' ภาษาล้านนาแปลว่า ''ที่ราบ'' ดังนั้น ยางเปียง จึงหมายถึงกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ตามบริเวณที่ราบ; ยางกะเลอ เรียกกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่บริเวณป่า เนินเขา หรือชายเขา; ''ยางป่า'' เรียกกะเหรี่ยงในหมู่ชาวไทย; กะหร่าง คนไทยในประจวบคีรีขันธ์ใช้เรียกกะเหรี่ยงทุกกลุ่ม; ''บามาคะยิน-Bama Kayin'' กะเหรี่ยงพม่า; ''ตาเลงคะยิน-TaLiang Kayin'' กะเหรี่ยงมอญ; ''กะเรง'' เป็นคำเรียกกะเหรี่ยงสะกอร์ในหมู่ชาวมอญ; น๒.นกยาง - นกชนิดหนึ่ง ปากแหลม ขายาว มีทั้งชนิดสีขาว สีเขียว สีน้ำตาล สีดำชอบหากินตามทุ่งนาชายน้ำ กินปลา แมลง สัตว์น้ำขนาดเล็ก ถ้าเขียน อฺยฺาง หมายถึงกาวหรือยางเหนียวหรือผลิตผลจากยางพารา; ดู...ยาง
ยาง (ยางฯ)