หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
บ่าเขือแจ้
อักษรล้านนา
บ่าฯเขิอฯอแจ้
เทียบอักษรไทย
[บ่าเขือแจ้]
ความหมาย

น.มะเขือขื่น - ภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) เรียก ''บ่าเขือแจ้/บ่าเขือฮืน''; มะเขือขื่น เป็นไม้ล้มลุกกึ่งไม้พุ่มขนาดเล็ก เป็นพืชผักสมุนไพร สูง 1-3 เมตร มีหนามและขนปกคลุมตามลำต้น ใบเดี่ยวลักษณะรูปดาว ออกเรียงสลับ รูปไข่ โคนใบรูปหัวใจ ปลายแหลมหรือมน ผิวใบทั้งสองด้านมีขนและหนาม ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ ออกตามซอกใบ กลีบดอกสีม่วง ยับย่น มี 5 กลีบ ผลเดี่ยว ทรงกลม ขนาด 2-3 ซ.ม. ผลอ่อนผิวเรียบเป็นมัน สีเขียวเข้ม มีลายขาวแทรก เมื่อแก่เต็มที่สีเหลืองสด มีกลิ่นเฉพาะตัว มีรสขมและขื่นเล็กน้อย ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ผลอ่อนกินเป็นผักจิ้มหรือผักแกง ผลแก่จะใช้ทั้งเปลือก เนื้อ และเมล็ดปรุงน้ำพริก เช่นน้ำพริกกะปิ ลำต้น ราก เมล็ด ใช้ทำยาได้หลายชนิด; ดู...บ่าเขือฮืน

ออกเสียงล้านนา
บ่าเขือฮืน
อักษรล้านนา
บ่าฯเขิอฯอฮืนฯ
เทียบอักษรไทย
[บ่าเขือฮืน]
ความหมาย

น.บ่าเขือฮืน - เป็นอีกชื่อหนึ่งที่ชาวเหนือ (คนเมือง) บางท้องที่เรียก ''มะเขือขื่น'' ว่า ''บ่าเขือฮืน'' แต่ส่วนใหญ่เรียก ''บ่าเขือแจ้''; ดู...บ่าเขือแจ้

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
บ่าเขือแจ้ (บ่าฯเขิอฯอแจ้)