🏠 หน้าหลัก🎉 เวอร์ชันใหม่
ออกเสียงล้านนา
กิ๋น
อักษรล้านนา
กินฯ
เทียบอักษรไทย
[กิน]
ความหมาย

ก1.กิน - โดยปกติจะหมายถึงกลืน เคี้ยว หรือดื่มเข้าไปทำให้ล่วงล้ำลำคอสู่กระเพาะ ถ้าพูดอย่างสุภาพจะใช้คำว่า รับประทาน ได้แก่อาหาร เครื่องดื่ม สิ่งของบริโภคต่างๆ ภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) เรียก ''กิ๋น'' เช่น กิ๋นเข้า - กินข้าว, กิ๋นแลง - กินข้าวมื่้อเย็น, กิ๋นน้ำ - ดื่มน้ำ, กิ๋นเหล้า - ดื่มเหล้า, กิ๋นหมาก - เคี้ยวหมาก, กิ๋นยา - กลืนยา, กิ๋นมูลี - สูบบุหรี่; ก2. กิ๋น - ภาษาเหนือถือเป็นคำสุภาพเมื่อใช้กับต่างบุคคล ต่างสถานะ ต่างเวลา ต่างสถานที่้ เช่น กิ๋น - (เสวย ราชาศัพท์), กิ๋น - (ฉัน ใช้กับพระสงฆ์); ก3. กิ๋น ภาษาเหนือมีความหมายหลากหลายเมื่อใช้รวมกับคำอื่น เช่น มาบลืน กิ๋นง่าว กิ๋นได้ ฮากเลือด ฮูดเน่า ต่างก็หมายถึงกิน (รับประทาน) ที่สุภาพบ้าง ไม่ค่อยสุภาพ; ก4. กิ๋น - เมื่อใช้รวมกับคำอื่นยังมีอีกมากมาย เช่น กิ๋นแอบ - กินแรง, กิ๋นเหล้น - เหลาะแหละ, กิ๋นจิ๊ - ใช้จ่ายอย่างประหยัด, กิ๋นใจ๋ - ซาบซึ้งใจ, กิ๋นอ่วย - สุรุ่ยสุร่าย เป็นต้น

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
กิ๋น (กินฯ)