🏠 หน้าหลัก🎉 เวอร์ชันใหม่
ออกเสียงล้านนา
กว่าง
อักษรล้านนา
ก่วฯางฯ
เทียบอักษรไทย
[กว่าง]
ความหมาย

น.ด้วงปีกแข็ง ตัวมีสีตั้งแต่น้ำตาลอ่อนไปจนถึงเกือบดำ ขามีขนและหนามแข็ง เล็บยาวโค้งงอเป็นคู่ มีเขาเฉพาะตัวผู้ มี ๒ เขา หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับพันธุ์ เขายื่นออกไปด้านหน้า ยาวบ้าง สั้นบ้าง เขาบนปลายแบนโค้งลงแล้วแยกเป็น ๒ ง่าม เขาล่างโค้งงอขึ้น ส่วนมากสั้นกว่าเขาบน ฟักตัวอยู่ใต้ดิน ออกมาหน้าฝนราวเดือนสิงหาคม-ตุลาคม มีหลายชนิด ชนิดที่มีเขายาว เรียก "กว่างโซ้ง" นิยม นำมาชนกัน เป็น"กีฬาพื้นบ้านล้านนา" : คำจ๊อย หนุ่มไปแอ่วสาว "...กว่างแซมกว่างโซ้ง เขายาวนักหนา กว่างแม่นั้นจา จื้อว่าอี่หลุ้ม มันบ่มีเขา ตั๋วมนตะหลุ้ม เป๋นตี้ฮักหุมกว่างปู๊ กว่างกิ๋เขาสั้น นั้นไผก็ฮู้ ไจ๊เป๋น กว่างตั้งอย่างเดียว อี่นายอี่น้อง ลูกของป้อเสี่ยว อ้ายมาคนเดียว ฟั่งหลั๋บเน่อเจ้า...ฟั่งหลั๋บเน่อเจ้า..."

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
กว่าง (ก่วฯางฯ)