พจนานุกรม
ภาษาล้านนา-ไทย, ไทย-ล้านนา

โดย อ.จรีย์​ สุนทรสิงห์
ออกเสียงล้านนา
เห..ย
อักษรล้านนา
เห้ยฯ
เทียบอักษรไทย
[เห..ย]
ความหมาย

น.ตัวเงินตัวทอง - สัตว์เลื้อยคลาน รูปร่างคล้ายกิ้งก่าขนาดใหญ่ ตระก..ลเดียวกันกับตะกวดหรือแลน ตัวอ้วนใหญ่ลำตัวสีดำมีลายดอกสีเหลืองหรือขาวพาดขวาง หางเป็นลายปล้องสีดำสลับเหลือง ลิ้นสีม่วงปลายแยกเป็น ๒ แฉกคล้ายงูใช้รับกลิ่น ชอบอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ว่ายน้ำเก่ง ดำน้ำได้นาน ชอบหากินของเน่าเปื่อย เศษซากอาหาร บางครั้งก็จะกินสัตว์เป็นๆ เช่นไก่ เป็ด; ดู...แลน

ออกเสียงล้านนา
แลน
อักษรล้านนา
แลนฯ
เทียบอักษรไทย
[แลน]
ความหมาย

น.ตะกวด ชาวถิ่นเหนือเรียก ''แลน'' - ชื่อสัตว์เลื้อยคลาน ลำตัวมีสีเรียบออกโทนสีน้ำตาลทั้งตัว (คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นตัวเห..ย หรือตัวเงินตัวทอง) เพราะรูปร่างส่วนใหญ่อาจจะดูคล้ายกัน ตะกวดมักอาศัยบนต้นไม้ ปีนต้นไม้เก่ง (ส่วนเห..ยมัก อยู่ตามพื้นดินใกล้แหล่งน้ำ ว่ายน้ำเก่ง) ปากแหลม ลิ้นยาวเป็นสองแฉก ชอบอาศัยอยู่ตามป่าโปร่งมากกว่า ป่าทึบ ชอบนอนผึ่งแดดบนกิ่งไม้ แต่หากินตามพื้นดิน อาหารส่วนใหญ่เป็นแมลง หรือสัตว์ขนาดเล็กๆ ชาวล้านนาบางท้องที่ถือว่าเนื้อแลนเป็นอาหารชั้นเลิศ ราคาแพงนำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น แก๋งอ่อมแลน ห่อหนึ้งแลน