พจนานุกรม
ภาษาล้านนา-ไทย, ไทย-ล้านนา
โดย อ.จรีย์ สุนทรสิงห์
น.สับปะรด ภาษาถิ่นเหนือ(กำเมือง) เรียก ''บ่าขะหนั๋ด''; สับปะรด หรือ บ่าขะหนั๋ด - ไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี สูงประมาณ 70-100 ซ.ม. ลักษณะของลำต้นอยู่ใต้ดิน แตกออกมาเป็นกอใหญ่ ไม่มีกิ่งก้านใดๆ มีเพียงกาบใบที่ห่อหุ้มลำต้นไว้ มีปล้องสั้นๆ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงเวียนถี่ เรียวยาว ไม่มีก้านใบ ขอบใบมีหนาม แผ่นใบสีเขียวเข้ม ลำต้นแก่ค่อนข้างแข็งแรงและออกหน่อด้านข้างเป็นข้อสั้นๆ ใบรูปแถบยาว ปลายแหลม ขอบใบมีหนาม ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด เรียงอัดกันแน่นรอบแกนช่อดอก ผลเป็นผลรวม ทรงกลมแกมทรงกระบอก โคนกว้าง ปลายสอบ มีใบสั้นเป็นกระจุกที่ปลายผล เรียกว่าตะเกียง ผลสุกสีเหลืองสดและฉ่ำน้ำ เนื้อรสเปรี้ยวๆ หวานๆ ใยของใบใช้ทำประโยชน์ได้ มีหลายพันธุ์ เช่น นางแล ภูเก็ต ภูแล ศรีราชา; ขะหนั๋ด,บ่าหนั๋ด ก็ว่า
บ่าขะหนั๋ด (บ่าฯขหันฯด)