พจนานุกรม
ภาษาล้านนา-ไทย, ไทย-ล้านนา
โดย อ.จรีย์ สุนทรสิงห์
ดู...ก้วยใต้
น.กล้วยน้ำว้า - ภาษาถิ่นเหนือ หรือคำเมือง เรียกว่า ''ก้วยใต้''; กล้วยน้ำว้า หรือ ก้วยใต้ กล้วยพื้นบ้านของไทย เป็นไม้ล้มลุกพันธุ์ผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี มีลำต้น(เหง้า)อยู่ใต้ดิน มีกาบเรียงวนซ้อนกันเป็นลำต้นเทียม, ใบเป็นแบบขนาน แบนยาวใหญ่ เรียก ''ใบตอง'' มีหัวปลีออกที่ปลายยอดของเครือ, ผลทรงกลมรี เรียงอยู่ในหวีคล้ายพัด ผิวลื่นเรียบ ปลายผลเป็นจุก ผลอ่อนสีเขียวเมื่อสุกสีเหลือง เนื้อสีขาวนวล นุ่ม เหนียว แน่น รสชาติหวาน แต่ไม่ส่งกลิ่นหอม, เมล็ดเล็กๆสีดำ กลม แข็ง บางพันธุ์ไม่มีเมล็ด, มีประโยชน์และสรรพคุณ นำมารักษาโรคได้หลายอย่าง นำมาประกอบอาหาร ของหวานได้หลากหลาย อีกทั้งยังแปรรูปได้มากมาย; กล้วยกะลิอ่อง,กล้วยบ่าลิอ่อง ก็ว่า
ก้วยกะลิอ่อง (ก้ลฯวฯยฯกลิอ่อฯง)