หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
เดื่อก๋า
อักษรล้านนา
เดิอฯอกา
เทียบอักษรไทย
[เดื่อกา]
ความหมาย

น.เพกา ดู...บ่าลิดไม้

ออกเสียงล้านนา
บ่าลิดไม้
อักษรล้านนา
บ่าฯลิดฯไม้
เทียบอักษรไทย
[บ่าลิดไม้]
ความหมาย

น.เพกา ภาษาถิ่นเหนือเรียก ''บ่าลิดไม้'' หรือ ''บ่าลิ้นไม้''; - เพกา เป็นไม้ยืนต้น สูง 3-12 เมตร แตกกิ่งก้านน้อย, ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น เรียงตรงข้ามกันอยู่บรเวณปลายกิ่ง, ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด มี 5 กลีบ สีขาวนวลแกมเขียว โคลนกลีบสีม่วงแดง เชื่อมติดกันแบบรูประฆัง ปลายกลีบแยกเป็นรูปปากเปิด เกสรสีแดง, ผลเป็นฝักแบนขนาดใหญ่ รูปดาบ ปลายแหลม ฝักแก่รอบข้างจะปริแตก ปล่อยเมล็ดลักษณะแบน มีเยื่อบางใสสีขาวคล้ายปีกล่องลอยไปตามลม เกิดการแพร่พันธุ์ไปทั่วบริเวณโดยรอบ; เพกา มีสรรพคุณเป็นยา ส่วนต่างๆ ตั้งแต่ราก เปลือกต้น ใบ ดอก ฝัก เมล็ด ใช้ทำยาได้; ทางด้านโภชนาการ ยอดอ่อนและดอกมีรสขมอ่อนๆ คล้ายใบยอ นำมาลวกหรือต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือ ผัดใส่กุ้ง หมูสับ ก็อร่อย หรือยำก็มีรสชาติเยี่ยม ฝักอ่อน เผาไฟแรงๆ จนเปลือกพองไหม้ทั่ว ขูดเอาส่วนไหม้สีดำที่ผิวออกให้หมด หั่นเป็นชิ้นตามขวางหนา นำมาเป็นผักจิ้มน้ำพริก เป็นเครื่องเคียงลาบ หลู้ หรือนำมาปรุงเป็นอาหาร ใช้ทอดกินกับไข่ ใส่่แกง คั่ว ยำ ผัดกับหมู หรือทำแกงอ่อมปลาดุกใส่ฝักเพกาแทนใบยอ; บ่าลิ้นไม้ ก็ว่า

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
เดื่อก๋า (เดิอฯอกา)