หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
หละกัง
อักษรล้านนา
ระคังฯ
เทียบอักษรไทย
[ระคัง]
ความหมาย

น.ระฆัง ภาษาเหนือ(คำเมือง)เรียก ''หละกัง'' - เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ใช้การตี เคาะ กระทบ หรือกระทุ้ง ให้เกิดเสียง ลักษณะรูปร่างคล้ายชมพู่เพชรสายรุ้ง มีตั้งแต่ขนาดจิ๋วไปจนถึงขนาดใหญ่ มักทำด้วยทองเหลือง (ทองแดง+สังกะสี) ส่วนมากจะใช้ระฆังเป็นเครื่องบอกเวลา เป็นสัญญาณเพื่อปฏิบัติสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น บอกเวลาเข้าเรียน-เลิกเรียน, ทำวัตร-สวดมนต์, เวลาเข้า-ออกสมาธิในการปฏิบัติภาวนา, ระฆังเล็กๆที่แขวนไว้รอบๆชายคาโบสถ์ วิหาร ยามเมื่อลูกกระทบที่อยู่ด้านในส่วนมากเป็นรูปใบโพธิ์แขวนติดอยู่ส่วนล่างต้องลม จะเกิดเสียงไพเราะราวกับดนตรีจากสรวงสวรรค์, เท่านั้นยังไม่พอยังมีการใช้ ระฆังจิ๋ว ประดับเครื่องแต่งกายตามชายเสื้อ เป็นต้น

ออกเสียงล้านนา
หละกัง
อักษรล้านนา
หลฯะคังฯ
เทียบอักษรไทย
[หละคัง]
ความหมาย

น.ระฆัง - เครื่องตีอย่างหนึ่ง รูปร่างคล้ายกระดิ่งขนาดใหญ่ ด้านบนมีหูสำหรับแขวน มักทำด้วยทองเหลือง ใช้ตีให้เกิดเสียงเป็นอาณัติสัญญาณ เช่น ตีระฆังบอกเวลาทำวัตรสวดมนต์ (ขนาดเล็กเรียก เดง)

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
หละกัง (หลฯะคังฯ)