หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
หม้อหน้า ฮก
อักษรล้านนา
หํมฯอฯห้นฯาร฿กฯ
เทียบอักษรไทย
[หม้อหน้ารก]
ความหมาย

น.หม้อนรก - ภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) เรียก ''หม้อหน้าฮก''; แหล่งลงโทษผู้ทำความชั่วเมื่อตายไปแล้ว จะต้องตกนรกไปชดใช้บาปกรรมตามความหนักเบา มากน้อย ที่ได้ทำในขณะที่มีชีวิตอยู่ในเมืองมนุษย์ ดังปรากฏใน ไตรภูมิพระร่วง ว่า ''ฝูงสัตว์ที่เป็นมนุษย์มี 2 จำพวก คือพวกที่ทำแต่ความชั่วช้าต่างๆ เมื่อตายไปย่อมไปเกิดในอบายภูมิ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะอัปลักษณ์บัดสี ส่วนพวกมนุษย์ที่ฝักใฝ่ประกอบแต่กรรมดี เมื่อตายจะได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นสูงขึ้น'' และยังได้กล่าวถึงนรกอีกว่ามี 8 ขุม แต่ละขุมมีลักษณะแตกต่างกัน ตามความหนักเบาของโทษ(กรรม)ที่ได้กระทำมา เช่น นรกขุมที่ 1 ชื่อ ''สัญชีพนรก'' สำหรับผู้มีโทษ(บาปกรรม)น้อย เช่น เป็นโจรปล้นทำลายทรัพย์สิน เป็นผู้มีอำนาจข่มเหงผู้ต่ำต้อยกว่า เป็นต้น ลักษณะของนรกขุมนี้คือ พื้นเหล็กหนาเผาไฟจนลุกโชน มีขอบทั้ง 4 ด้าน มีอาวุธต่างๆ เช่น หอก ดาบ ฆ้อน ถูกเผาไฟลุกแดงจัด สัตว์นรกวิ่งพล่าน เท้าเหยียบไฟ ร่างกายถูกเผา สรรพาวุธฟัน แทง สับ ทุบ สัตว์นรกเจ็บปวดทรมาน ร้อนครวญครางดิ้นเร่าๆ ร่างกายฉีกขาดแล้วมาต่อกันใหม่โดยทันที ทรมานไปจนกว่าจะหมดเวรกรรม'' และขุมที่ 8 เป็นขุมสุดท้ายชื่อ ''อเวจีมหานรก'' สำหรับสัตว์นรกพวกทำกรรมหนัก เช่น ฆ่ามารดาบิดา เป็นต้น ลักษณะของนรกขุมนี้ มีกำแพงปิดทั้ง 6 ด้าน มีหลาวแทงสัตว์นรกจนทะลุตรึงร่าง ให้ยืนกางแขนขาจำนวนหลายสิบเล่ม จนไม่สามารถขยับตัวได้ ถูกแผดเผาตลอดเวลาจนกระดูกแดงฉาน เป็นทุกข์ทรมานยิ่งนัก; ดู...หน้าฮก

ออกเสียงล้านนา
หน้า ฮก
อักษรล้านนา
ห้นฯาร฿กฯ
เทียบอักษรไทย
[หน้ารก]
ความหมาย

นรก - ภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) เรียก ''หน้าฮก''; น๑.นรก คือแดนหรือภูมิที่เชื่อว่าเป็นที่ลงโทษผู้ทำบาปเมื่อตายไปแล้ว; น๒.ที่ซึ่งมีแต่ความทุกข์ทรมาน เช่น พ่อแม่ทะเลาะกันทุกวัน จนบ้านกลายเป็นนรกของลูก, ลูกไม่อยู่ในโอวาทคำสอน ติดอบายมุข ยาเสพติด บ้านก็เป็นดุจดังนรกของพ่อแม่เช่นกัน, ถูกตัดสินลงโทษจำคุก เรือนจำเป็นนรกของนักโทษ เป็นต้น; ดู...หม้อหน้าฮก

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
หม้อหน้าฮก (หํมฯอฯห้นฯาร฿กฯ)