หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
สวด
อักษรล้านนา
สวฯด
เทียบอักษรไทย
[สวด]
ความหมาย

ว.โค้งมน,พูน - ภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า ''สวด''; สวด เป็นลักษณะโดยรวม ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือทำขึ้น มึลักษณะโค้งมน หรือพูนสูงขึ้นไปกว่าปกติ เช่น เข้าสวดจานจุ่มผุ่ม (ตักข้าวจนพูนจาน), ต๊องสวดจุ่มผุ่ม(ท้องของหญิงที่กำลังตั้งครรภ์นูนโค้งมีลักษณะกลมๆ สูงขึ้นกว่าปกติที่ยังไม่ท้อง), นมสวดจ็๋อกป็๋อก(เต้านมที่นูนโค้งขึ้น-ดู สวดจ็๋อกป็๋อก),จุ๋มปวกสวดจุ๋กปุ๋ก(จอมปลวกโผล่ขึ้นมาข้างรั้วบ้าน-ดู สวดจุ๋กปุ๋ก); ดู...สวดจุ่มผุ่ม

ออกเสียงล้านนา
สวดจุ่มผุ่ม
อักษรล้านนา
สวฯดจุ่มผุ่ม
เทียบอักษรไทย
[สวดจุ่มผุ่ม]
ความหมาย

ว.พูน -ลักษณะนูนโค้งสูงขึ้นกว่าภาชนะที่รองรับ หรือเป็นเนินโค้งขึ้นเล็กน้อย เช่น เข้า/ของกิ๋น สวดจุ่มผุ่ม(ข้าวพูนจาน อาหารพูนหม้อ) เป็นต้น; ดุ...สวด

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
สวด (สวฯด)