หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
วันเสีย
อักษรล้านนา
วันฯเสยฯ
เทียบอักษรไทย
[วันเสีย]
ความหมาย

น.วันเสีย - วันอัปมงคล,วันที่ทำให้เกิดเคราะห์ร้ายต่างๆ เป็นฤกษ์ยามพื้นฐานที่คนล้านนาได้ยึดถือปฏิบัติจนกลายเป็นประเพณีวัฒนธรรมมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน จะกระทำการใดๆ ไม่ว่าจะเป็นมงคล หรืออวมงคล ต้องดูว่าเป็นดีหรือวันเสีย ในแต่ละเดือนมีวันเสียไม่เหมือนกัน เรียกว่า ''วันเสียประจำเดือน'' มีผู้เฒ่าผู้แก่จำนวนไม่น้อยท่องขึ้นใจเป็นคำเมืองว่า ''เกี๋ยง ห้า เก้า เสียติ๊ดกั๋บจั๋น, ยี่ ห๋ก สิบ เสียอังการวันเดียว, สาม เจ็๋ด สิ๋บเอ็๋ด เสียผั๋ดกั๋บเสาร์, สี่ แปด สิ๋บสอง เสียปุ๊ดกั๋บศุ๋กร์'' แปลว่า ''เดือนอ้าย ห้า เก้า เสียวันอาทิตย์ และ วันจันทร์, เดือนยี่ หก สิบ เสียวันอังคาร วันเดียว, เดือนสาม เจ็ด สิบเอ็ด เสียวันพฤหัสบดี และ วันเสาร์, เดือนสี่ แปด สิบสอง เสียวันพุธ และ วันศุกร์'' เดือนที่กล่าวถึงเป็นเดือนที่ใช้กันในล้านนา นับเร็วกว่าภาคกลางไป ๒ เดือน เช่น ''วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ (เดือน ๘ เป็ง), วันจักรี ปี พ.ศ.๒๕๖๕ ตรงกับ วันพุธที่ ๖ เมษายน ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ (เดือน ๗ เหนือ)''

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
วันเสีย (วันฯเสยฯ)