หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
ยมหิน
อักษรล้านนา
ย฿มฯหินฯ
เทียบอักษรไทย
[ยมหิน]
ความหมาย

น.ยมหิน ภาษาถิ่นภาคเหนือนิยมเรียก ''ยมขาว''; ยมหิน หรือ ยมขาว เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดแพร่ มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-25 เมตร เปลาตรง ที่โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกสีน้ำตาลคล้ำ สีเทา หรือเทาปนดำ เมื่อมีอายุมากขึ้นเปลือกจะแตกเป็นร่องลึกตามยาวของลำต้น เปลือกชั้นในสีแดงออกน้ำตาลหรือสีชมพู ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยประมาณ 6-20 คู่ โคนใบมนหรือกลม ปลายใบแหลม ดอก ออกเป็นช่อตามมุมกิ่งอ่อนหรือปลายยอด มี 4-5 กลีบ สีเขียวอ่อนหรือเหลืองปนม่วง ผล ออกเป็นพวง รูปรีหรือรูปไข่ เป็นแบบผลแห้งมีเปลือกแข็งสีน้ำตาล ขนาดยาว 2.5-5 ซ.ม.โต 1.8-4.0 ซ.ม. ปลายผลเป็นติ่งแหลม เมื่อแก่จะแตกเป็น 3-5 เสี่ยง มีเมล็ดแบน เป็นแผ่นบางๆ เรียงตัวสลับกันจำนวนมาก ผลสุกรับประทานได้ เนื้อไม้มีลายสวยงาม เป็นมัน สีน้ำตาลอมเหลือง

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
ยมหิน (ย฿มฯหินฯ)