หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
มุยแง่ม
อักษรล้านนา
มุแง่มฯ
เทียบอักษรไทย
[มุยแง่ม]
ความหมาย

น.ขวานหงอน - ภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) เรียก ''มุยแง่ม''; ขวานหงอน หรือ มุยแง่ม หมายถึงขวาน(มุย) ที่มีง่าม(แง่ม) หรือมีหงอนแยกเป็น 2 แฉกสำหรับถอนตะปู: ขวานหงอน/มุยแง่ม ถือได้ว่าเป็นขวาน/มุย อเนกประสงค์ ใช้งานได้หลากหลาย อาทิ ฟันไม้ ตัดไม้ ผ่าฟืน(โบ๋ะหลัว) ตีตะปู ถอนตะปู งัดแงะ แซะ ถาก ทุบ เป็นต้น; ดู...มุย

ออกเสียงล้านนา
มุย
อักษรล้านนา
มุย,มุย์,มุ
เทียบอักษรไทย
[มุย]
ความหมาย

น.ขวาน - ภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า ''มุย''; ขวาน หรือ มุย เป็นเครื่องมือสำหรับตัด ฟัน ผ่า หรือถากไม้ เป็นต้น ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน ตัวขวานหรือมุย และด้ามขวานคือด้ามมุย: ตัวมุย ทำด้วยเหล็กมีสันหนาเรียวสอบบางลงเป็นคม มีด้ามจับทำด้วยไม้ พลาสติก เป็นต้น มีช่องสำหรับสอดด้ามอยู่ที่ส่วนบน ส่วนที่เป็นตัวขวานนั้นอาจทำให้เป็นรูปลิ่มตรงๆลงไป หรือทำส่วนคมให้กว้างกว่าส่วนสัน หรืออาจทำให้ส่วนที่เป็นตัวของขวานนั้นป่องตรงส่วนกลางก็ได้: ลักษณะโดยทั่วไปของขวาน อาจแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ ขวานหงอน(มุยแง่ม) คือขวานที่มีส่วนปลายของหงอนแยกเป็น 2 แฉก และขวานม่าน(มุยแม่) คือขวานที่ทำเป็นรูปลิ่ม ไม่มีส่วนโค้งและไม่มีหงอน ใช้ได้เฉพาะการฟัน ผ่า ถาก ทุบ เท่านั้น

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
มุยแง่ม (มุแง่มฯ)