หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
ฟ้อนแง้น
อักษรล้านนา
ฟ้อฯรแง้นฯ
เทียบอักษรไทย
[ฟ้อนแง้น]
ความหมาย

ก.ฟ้อนแง้น - เป็นการฟ้อนแบบพื้นบ้าน ประกอบด้วยวงซอคั่นระหว่างการขับซอ เป็นการแสดงความสามารถเฉพาะตัว ฟ้อนได้ทั้งชายและหญิง ผู้ฟ้อนจะค่อยๆแอ่นตัวไปข้างหลัง ตามจังหวะดนตรีด้วยความอ่อนช้อยสวยงาม จนศีรษะจรดพื้น ผู้ชมที่ชื่นชอบก็จะวางธนบัตรให้ผู้ฟ้อนแสดงความสามารถ แง้นอ่อนตัวลงคาบเอาธนบัตร ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงใช้วงสะล้อ ซึง โดยมีปี่จุม บรรเลงเพลงซอเงี้ยว ซอล่องน่าน ผู้แสดงแต่งกายพื้นเมืองแบบภาคเหนือ ชาย นุ่งกางเกงขาสามส่วน สวมเสื้อหม้อห้อม ผ้าขาวม้าคาดเอว หญิง นุ่งซิ่นยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนสามส่วน หรือเสื้อหม้อห้อม เป็นที่นิยมในเขตจังหวัดน่าน แพร่ ลำปาง พะเยา และเชียงราย; ดู...แง้น

ออกเสียงล้านนา
แง้น
อักษรล้านนา
แง้นฯ
เทียบอักษรไทย
[แง้น]
ความหมาย

ว1.แง้น - หมายถึง แอ่น โค้ง หรืองอไปด้านหลัง เช่น ฟ้อนแง้น(การฟ้อนรำแล้วแอ่นลำตัวโค้งไปข้างหลัง); ว2.แง้น - โค้งขึ้น งอนขึ้น โง้งขึ้น ช้อยขึ้น แอ่นขึ้น เช่น ก้นแง้น(ก้นงอน),ขนต๋าแง้น(ขนตางอน)

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
ฟ้อนแง้น (ฟ้อฯรแง้นฯ)