หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
ป๋าฝา
อักษรล้านนา
ปลฯาฝา
เทียบอักษรไทย
[ปลาฝา]
ความหมาย

น.ตะพาบน้ำ ภาษาถิ่นเหนือเรียก ''ป๋าฝา''; ตะพาบน้ำ หรือ ป๋าฝา - เป็นสัตว์คลานชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายเต่าน้ำจืด ต่างกันตรงที่กระดองบนและกระดองล่างไม่มีกระดูกเป็นแผ่นใหญ่ๆ แต่มีหนังอ่อนนิ่มหุ้มแทน ขอบกระดองหลังแผ่กว้าง ตีนข้างหน้ามีแผ่นพังผืดกว้าง มีนิ้วยาว ใช้สำหรับพุ้ยน้ำ คอหดในกระดองได้มิด และสามารถยืดคอออกได้ยาวมาก เมื่อจะงับเหยื่อหรือกัดศัตรู ตะพาบน้ำทุกชนิดเป็นสัตว์น้ำจืด มักพบอยู่ตาม ห้วย บึง หนอง และตามแม่น้ำลำคลอง ในหน้าแล้งจะทำโพรงอยู่ใต้ดินได้นาน จนกระทั่งฝนตกจึงจะออกมาจากโพรง

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
ป๋าฝา (ปลฯาฝา)