หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
บ่าแข่น
อักษรล้านนา
บ่าฯแข่นฯ
เทียบอักษรไทย
[บ่าแข่น]
ความหมาย

น.ลูกระมาศ,กำจัดต้น ภาษาถิ่นเหนือ เรียก ''บ่าแข่น หรือ บ่าแขว่น''; - เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 12-20 เมตร เปลือกต้นสีขาว มีหนามแหลมรูปกรวย ปลายตรงหรือโค้งเล็กน้อย ขึ้นตามลำต้น กิ่ง และก้านใบ, ใบเป็นใบประกอบเรียงสลับแบบขนนก ยาว 15-20 ซ.ม.โคนใบเบี้ยว ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ปลายใบเรียวแหลม, ดอกเป็นช่อออกที่ซอกก้านใบหรือปลายยอด ดอกเล็กสีขาวอมเขียวเป็นกระจุกอยู่ที่ปลายช่อ มีกลีบ 4 กลีบ, ผลกลม ขนาดเมล็ดพริกไทย ผลอ่อนสีเขียว 0.5-0.7 ซ.ม.เมื่อแก่เปลือกเป็นสีน้ำตาล และแตกอ้าเห็นเมล็ดสีดำเป็นมัน กลิ่นฉุนรสเผ็ดร้อน: ประโยชน์ทางสมุนไพร ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ หน้ามืด ตาลาย วิงเวียน, ใบขยี้อุดฟันแก้รำมะนาด, ตำรายาจีน ใช้แก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้อาเจียน, ทางด้านโภชนาการ ใบและยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ลาบ ยำ, ผลแห้งและเมล็ดใช้ผสมเป็นเครื่องเทศ เครื่องแกง เพื่อให้มีรสเผ็ดร้อน และกลิ่นหอม หรือเพื่อชูรสอาหาร ทางภาคเหนือนิยมใช้เป็นเครื่องปรุงน้ำพริกลาบ หลู้ มีรสเผ็ด ใส่ยำเนื้อไก่ แกงผักกาด (ผักกาดเขียวปลี หรือ ผักโสภณ) ทำให้อาหารมีรสชาติดีขึ้น

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
บ่าแข่น (บ่าฯแข่นฯ)