หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
บ่าขามเกิ้ม
อักษรล้านนา
บ่าฯขามฯเกิ้มฯ
เทียบอักษรไทย
[บ่าขามเกิ้ม]
ความหมาย

น.มะขามคราบหมู - ภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า ''บ่าขามเกิ้ม'' คือ มะขามที่ฝักแก่ใกล้สุก แก่จนเปลือกล่อนไม่ติดเนื้อเช่นเดียวกับเปลือกไข่ต้มและไข่ขาว เนื้อสีขาวนวล อ่อนนิ่ม เริ่มมีสีน้ำตาลอ่อนๆ อยู่บ้าง แต่เนื้อยังไม่ถึงกับแห้ง แกะเปลือกออกได้ง่าย ถ้าเป็นมะขามหวานจะมีรสหวานอมเปรี้ยวนิดๆ อร่อย เป็นที่นิยมบริโภคในปัจจุบัน; ดู...เกิ้ม

ออกเสียงล้านนา
เกิ้ม
อักษรล้านนา
เกิ้มฯ
เทียบอักษรไทย
[เกิ้ม]
ความหมาย

น.เกิ้ม - มีความหมายหลายอย่าง ตามลักษณะและชนิดของสิ่งที่ระบุ อาทิ :- เรียกมะขามแก่จนเปลือกล่อน แต่เนื้อยังขาวนวล นิ่ม ไม่ถึงกับแห้งว่า บ่าขามเกิ้ม,เรียกของเหลวที่เคี่ยวจนงวดว่าเกิ้ม,เรียกน้ำเย็นเป็นวุ้นจวนจะแข็งตัวว่า น้ำเกิ้ม,เรียกมะพร้าวที่มีเนื้อยังไม่แก่จัดแต่แข็งกว่าที่เป็นวุ้นว่า บ่าป๊าวเกิ้ม ถ้าเนื้อยังเป็นวุ้นเรียกบ่าป๊าวขี้มูก, เรียกแกงกระด้างว่า แก๋งเกิ้ม เป็นต้น ก.แน่น,ปรับตัวเข้าที่ ว.พูดออกเสียงไม่ถูกต้องตามมาตรฐานหรือความนิยมว่า อู้เกิ้ม

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
บ่าขามเกิ้ม (บ่าฯขามฯเกิ้มฯ)