หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
บ่าขาม
อักษรล้านนา
บ่าฯขามฯ
เทียบอักษรไทย
[บ่าขาม]
ความหมาย

น.มะขาม - ภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า ''บ่าขาม''; มะขาม - ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-30 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลม ลำต้นและกิ่งเหนียว ปลายกิ่งห้อยลู่ลง, ใบ เป็นใบรวม ออกเป็นคู่ๆ เรียงกันตามก้านใบ, ดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ ตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งๆ มี 10-15 ดอก กลีบสีเหลือง มีจุดประสีแดงอยู่กลางดอก มีรสเปรี้ยว, ผล เป็นฝักเรียกตามลักษณะของฝักมี 3 ชนิด คือ ฝักกลมเล็กยาวเรียก''มะขามขี้แมว'' ฝักใหญ่ แบน โค้งงอคอดเป็นข้อ เรียก''มะขามกระดาน'' และที่มีฝักข้อเดียวกลมป้อมเรียก''มะขามข้อเดียว'' ถ้าแบ่งตามรสชาติมี 2 ชนิด มะขามเปรี้ยวและมะขามหวาน: มะขาม เมื่อแก่จัดถึงแห้งเปลือกฝักแข็ง เปราะ ล่อนไม่ติดเนื้อ: มะขามเป็นพืชสมุนไพร ใช้ทำยาได้หลายอย่าง ในด้านโภชนาการใช้ทำอาหารได้หลายส่วน ทั้งใบอ่อน ดอก ฝักอ่อน ฝักแก่ ฝักแห้ง อาทิ มะขามเปียก ทำจากมะขามแห้งเป็นเครื่องปรุงรสเปรี้ยวที่สำคัญในอาหารไทย ทั้งแกงส้ม ต้มส้ม ไข่ลูกเขย น้ำปลาหวาน ผักกาดจอ, ยอดและใบอ่อน นำไปยำหรือใส่ต้มต่างๆ เพื่อเพิ่มรสเปรี้ยว, เนื้อของฝักอ่อน แก่ แห้ง ทำขนมได้หลายชนิด เช่น มะขามดอง มะขามแช่อิ่ม มะขามคลุก มะขามกวน มะขามแก้ว เป็นต้น: เมล็ด คั่วให้สุกรับประทานเป็นของขบเคี้ยวที่เรียกว่า ''ฟ้าสนั่น'', เปลือกของฝักแห้ง บดหรือตำให้เป็นชิ้นเล็กๆ ทำเป็น ''ขี้โย'' ผสมยาเส้นมวนด้วยใบตองเป็น ''บุหรี่ขี้โย'' เพื่อลดความฉุนและมีรสดีขึ้น, เนื้อไม้มะขาม ใช้ทำเขียง ครก สาก ดุมเกวียน หรือเผาเป็นถ่านที่ให้ความร้อนสูง แม้กระทั่ง ''ต้นผ้าป่า'' ก็นิยมใช้กิ่งมะขาม เพราะเหนียว สามารถห้อย แขวน เครื่องบริโภคอุปโภค ของกินของใช้ จตุปัจจัยไทยทานได้มาก

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
บ่าขาม (บ่าฯขามฯ)