หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
บ่า
อักษรล้านนา
บ่าฯ
เทียบอักษรไทย
[บ่า]
ความหมาย

น.บ่า - ส่วนของร่างกายระหว่างคอกับไหล่; ว.บ่า - คำประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่า หมายถึง ''ไอ้'' แต่คำเมืองใช้ ''บ่า หรือ ไอ่'' เช่น คำเมืองเรียก ''บ่าแสง/ไอ่แสง'' ไทยกลางหมายถึง ''ไอ้แสง'' อย่างพี่เรียกน้อง; ว.บ่า - คำประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูง แสดงความสนิทสนม; ทั้ง ๓ กรณีที่กล่าว แล้ว ใช้ ไอ่ แทนก็มีความหมายเหมือนกัน; ถ้าผู้ที่มีอายุน้อยกว่าใช้คำประกอบหน้าชื่อผู้ที่อาวุโสกว่า ว่า ไอ่...หรือ บ่า... ถือว่าเป็นคำไม่สุภาพ ไม่เคารพนับถือกัน; ว.บ่า - ใช้เป็นคำนำหน้าชื่อต้นไม้ ผลไม้ เนื่องจากผลไม้ต่างๆของล้านนาแต่เดิมเรียกว่าหมาก เช่น หมากแต๋ง หมากเต้า หมากม่วง หมากผาง ต่อมาภาษาได้เลือนจากหมาก มาเป็นมะบ้าง เป็นบะบ้าง เป็นหมะบ้าง ตามสำเนียงคนในท้องถิ่นแต่ละแห่งพูดกัน ในพจนานุกรมนี้ใช้ ''บ่า'' เช่น บ่าม่วง บ่าลำไย บ่าเฟือง; ว.บ่า มีความหมายว่า ''ไม่'' เช่น บ่าเข้าใจ๋-ไม่เข้าใจ,บ่าฮู้บ่าหัน-ไม่รู้ไม่เห็น; ว.บ่า มึความหมายว่า ''ไม่'' เช่นเดียวกับคำว่า ''บ่'' เช่น บ่เข้าใจ๋-ไม่เข้าใจ,บ่ฮู้บ่หัน-ไม่รู้ไม่เห็น

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
บ่า (บ่าฯ)