หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
นุ่งผ้าต้อย
อักษรล้านนา
นุ่งผ้าต้อฯยฯ
เทียบอักษรไทย
[นุ่งผ้าต้อย]
ความหมาย

ก.นุ่งโจงกระเบน - ภาษาถิ่นล้านนาเรียกว่า ''นุ่งผ้าต้อย''; นุ่งโจงกระเบน หรือ นุ่งผ้าต้อย เป็นรูปแบบการนุ่งผ้าประเภทหนึ่ง โดยคำว่า ''โจง'' หมายถึง การโยง จูงไป ''กระเบน'' หมายถึง หาง เป็นคำที่มาจากภาษาเขมร นุ่งโจงกระเบน จึงหมายถึง ''การนุ่งผ้าด้วยวิธีม้วนชายผ้านุ่งไปเก็บไว้ด้านหลัง'' ซึ่งดูคล้ายกับกางเกงหลวมๆ โดยนำผ้าสี่เหลี่ยมผืนผ้ามานุ่งขมวดเป็นชายพกไว้ที่เอว แล้วม้วนชายผ้าด้านกว้างทั้ง 2 ที่ประกบกันอยู่ตรงด้านหน้าให้เป็นหางยาว แล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บที่ขอบผ้าด้านหลังบริเวณเอว

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
นุ่งผ้าต้อย (นุ่งผ้าต้อฯยฯ)