หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
ตุ่น
อักษรล้านนา
ตุ่ร
เทียบอักษรไทย
[ตุ่น]
ความหมาย

น.ตุ่น/ตัวตุ่น - ภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) ก็เรียก ''ตุ่น''; ตุ่น เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รูปร่างคล้ายหนูตะเภา ตัวอ้วนป้อม หัวเล็ก หูเล็ก ตาเล็ก ปากแหลม หางสั้นมาก เล็บตีนหน้ายาวใหญ่ ขนอ่อนนุ่ม สีเทาคล้ำ หรือเทาอมดำ ขุดโพรงอยู่ใต้ดินตลอดเวลา จะไม่ขึ้นมาบนดินหากไม่จำเป็น ดังนั้นจึงมีหูและตาเล็กมาก ลักษณะของโพรงจะเป็นทางยาวมาก โดยมักจะขุดลึกไปจากผิวดินประมาณ 3 นิ้วถึงครึ่งฟุต และมีอีกโพรงหนึ่งเป็นคู่ขนาน ทั้ง 2 สายนี้เชื่อมไว้ด้วยทางเชื่อมเล็กๆ ในแนวเป็นระยะๆ ในบางจุดอาจมีแนวดิ่งลึกลงไปถึง 4 ฟุต ผนังโพรงราบเรียบ ดินที่ขุดทำโพรงบางส่วนจะถูกดันขึ้นไปเหนือพื้นดิน เห็นเปนเนินๆ เรียกว่า ''ขวย หรือ โขย'' อาหารหลักของตุ่นคือ ไส้เดือนดิน แต่ก็กินอย่างอื่นได้ เช่น หนอน หอยทาก และพืชประเภทหัว เช่น มัน แห้ว; ว.สีตุ่น- ความหมายของภาษาไทยกลาง คือ ''สีที่ไม่สด'' เช่น สีแดงตุ่น คือสีแดงที่ไม่สด สีเหลืองตุ่น คือสีเหลืองที่ไม่สด เป็นต้น แต่ภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) หมายถึง ''สีตุ่น''; ดู...ฝ้ายตุ่น

ออกเสียงล้านนา
ฝ้าย ตุ่น
อักษรล้านนา
ฝ้ายฯตุ่ร
เทียบอักษรไทย
[ฝ้ายตุ่น]
ความหมาย

น.ฝ้ายตุ่น - เป็นไม้พุ่ม ลำต้นสูง 1-1.5 เมตร เป็นฝ้ายพื้นเมือง ปุยฝ้ายมีสีน้ำตาลอ่อนสดใส หรือสีครีมตามธรรมชาติ (ไม่ใช่สีจากการย้อม) ใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการทอผ้าด้วยมือแบบพื้นเมือง; ฝ้ายตุ่น เป็นพันธุ์ฝ้ายที่หายาก และปั่นยากกว่าฝ้ายสีขาว เนื่องจากมีปุยสั้นและไม่ค่อยฟูเหมือนพันธุ์สีขาว ชาวล้านนานิยมเก็บฝ้ายก่อนที่ฝ้ายจะร่วงลงสู่พื้น ป้องกันไม่ให้ฝ้ายสกปรก แล้วนำไปตากให้แห้งสนิท คัดเอาแมลงและสิ่งสกปรกออก ก่อนจะนำไปหีบ หรืออีดแยกเอาเมล็ดออกก่อนนำใปปั่นเป็นเส้นด้าย ทอมือด้วยกี่เป็น ''ผ้าตุ่น'' หรือ ''ผ้าสีตุ่น'' นำไปตัดเย็บเป็น เครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ที่เป็นผ้าฝ้าย สวมใส่สบาย มีสีสวยสดใสเป็นธรรมชาติ; ดู...สีตุ่น

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
ตุ่น (ตุ่ร)