หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
ตานต้อด
อักษรล้านนา
ทาฯนฯทอฯด
เทียบอักษรไทย
[ทานทอด]
ความหมาย

น.ทานทอด - ภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) เรียก ''ตานต้อด''; ทานทอด - การถวายทานที่มีลักษณะคล้ายกับการทอดผ้าป่า ต่างกันตรงที่ ''ทานทอด'' เจาะจงแด่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ทำตอนกลางคืนและปิดเป็นความลับ ไม่ให้พระทราบว่าเจ้าภาพเป็นใครมาจากไหน การจัดตกแต่งจตุปัจจัยเครื่องไทยทานเหมือนผ้าป่า นำไปตั้งบริเวณหน้ากุฏิหลังจากพระจำวัด (เข้านอน) อย่างเงียบๆ ผู้เข้าร่วมทำบุญแอบซ่อนอยู่ในที่มืดเพื่อไม่ให้พระมองเห็น เสร็จแล้วให้สัญญาณ (นิยมจุดประทัด) ให้พระตกใจสะดุ้งตื่นออกมาดู เมื่อเห็นเช่นนั้นก็เดินเข้าไปยืนอยู่ใกล้ๆเครื่องไทยทานสักอึดใจหนึ่ง มองไปรอบๆก็ไม่เห็นใคร จึงทักทาย ถาม ด้วยเสียงดังพอควรว่า ''เป็นของใคร มาจากไหน เป็นของคนหรือของผี ควรแก่การอุปโภค บริโภค สำหรับสมณะหรือไม่ หากไม่ ขอได้โปรดช่วยกันยกกลับคืนไปเถิด'' พูดทำนองนี้แล้วกลับเข้าไปในห้อง สักครู่กลับออกมายังเห็นมีเครื่องไทยทานอยู่ที่เดิม พระก็กล่าวสัมโมทนียกถา ชักผ้า ให้พร เป็นเสร็จพิธี

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
ตานต้อด (ทาฯนฯทอฯด)