หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
กล้วย ออกเสียง ก้วย
อักษรล้านนา
ก้ลฯวฯยฯ
เทียบอักษรไทย
[กล้วย]
ความหมาย

น.กล้วย ภาษาถิ่นเหนือ หรือ คำเมือง เรียกว่า ''ก้วย'' เพราะว่า คำเมืองไม่มีเสียงกล้ำ; กล้วย หรือ ก้วย - เป็นไม้ล้มลุก มีหลายชนิดหลายพันธุ์ ส่วนมากมีเหง้าอยู่ใต้ดินแตกกอได้ ส่วนใหญ่เป็นกล้วยที่กินผลสุก เช่นกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม บางชนิดเป็นต้นเดี่ยว ไม่มีหน่อร่วมกอ เช่นกล้วยผา, ลำต้นมีลักษณะกลมๆ มีกาบเปลือกหุ้มล้อมรอบ ผิวลื่นเรียบ สีขาวขุ่นปนเขียว มีหน่อเหง้างอกโผล่ขึ้นมาจากดิน, ใบเดี่ยวแบบขนานเรียก ''ใบตอง'' ใบอ่อนสีเขียวอ่อน มีก้านใบอยู่ตรงกลาง ใบแบนยาวใหญ่ สีเขียวสด, ดอกเป็นช่อเป็นเครือยาว มีปลีออกที่ปลายยอด ปลายรีสีแดงม่วง, บนเครือมีหวีเรียงซ้อนกันอยู่ มีดอกยาวรีเรียงอยู่ในหวีคล้ายพัด ต่อมาจะเติบโตเป็นผล, ผลมีลักษณะกลม ทรงรียาว ผลอ่อนเปลือกสีเขียว เมื่อสุกเปลือกสีเหลือง ข้างในมีเนื้อสีขาวเหลือง เนื้อนุ่ม บางชนิดมีรสชาติหวานหอม, เมล็ดกลมเล็กๆ สีดำ แข็ง อยู่ในเนื้อกล้วย บางชนิดมีเมล็ดจำนวนมาก บางชนิดไม่มีเมล็ด: กล้วย ส่วนมากมีสรรพคุณเป็นยา ใช้รักษาโรคได้หลายอย่าง นำมารับประทานเป็นผลไม้ นำมาประกอบอาหาร ของหวาน หรือแปรรูปได้หลากหลาย

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
ก้วย (ก้ลฯวฯยฯ)