หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
กะโหล้งบ่าป๊าว
อักษรล้านนา
กะโห้฿ลฯงบ่าฯพ้ลฯาวฯ
เทียบอักษรไทย
[กะโหล้งบ่าพล้าว]
ความหมาย

น.กะลามะพร้าว ภาษาถิ่นเหนือ(คำเมือง)เรียก ''กะโหล้งบ่าป๊าว'' - เปลือกชั้นที่ 3 ชั้นในสุดที่ติดกับเนื้อมะพร้าว เป็นส่วนที่แข็งๆ ของผลมะพร้าว ในอดีตเมื่อเอาเนื้อออกหมดแล้วก็เป็นเศษวัสดุไม่ค่อยมีราคา มักนำไปใช้ทำเชื้อเพลิง กะลามะพร้าว มีคุณสมบัติพิเศษ มีความแข็งแรงทนทาน สามารถขัดผิวให้เรียบได้ง่าย มีสีนำตาลเข้มแกมดำเป็นเงางาม ตัดเลื่อยเป็นชิ้นงานต่างๆ ได้ง่าย กะลามะพร้าว เป็นส่วนที่เคยถูกโยนทิ้งอย่างไร้ค่านั้น ในปัจจุบันสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นงานหัตถกรรมที่งดงามด้วยฝีมืออันประณีต ในแบบเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น ทัพพี กระบวยตักน้ำ ถ้วย ชาม ฯลฯ เครื่องตกแต่งบ้าน อาทิ โคมไฟ แจกัน กระเช้าดอกไม้ ตุ๊กตา เป็นต้น รวมทั้งเครื่องประดับแต่งกายสุภาพสตรี เช่น เข็มกลัด ปิ่นปักผม กระเป๋าถือ สร้อย ฯลฯ

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
กะโหล้งบ่าป๊าว (กะโห้฿ลฯงบ่าฯพ้ลฯาวฯ)