หน้าหลัก
ออกเสียงล้านนา
บุก ออกเสียง บุ๋ก
อักษรล้านนา
บุก
เทียบอักษรไทย
[บุก]
ความหมาย

น.บุก - ภาษาถิ่นเหนือ(คำเมือง) ออกเสียง ''บุ๋ก''; บุก หรือ บุ๋ก เป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน ลำต้นกลมอวบ สีเขียวเข้ม ตามต้นมีรอยด่างเป็นดวงๆ เขียวสลับขาว สูง 1-2 เมตร, ใบเดี่ยว แตกใบที่ยอด กลุ่มใบแผ่เป็นแผงคล้ายร่มกาง ก้านใบต่อเนื่องกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5-7 ใบ รูปใบยาว ปลายแหลม ยาว 12-15 ซ.ม.ขอบใบหยักเว้าเป็นแฉกลึก, ดอกสีเหลือง ประกอบด้วยปลีและจานรองดอก ออกดอกในฤดูฝน บานตอนเย็น กลิ่นเหม็นมาก, หน้าแล้งต้นแห้งตายเหลือแต่หัวอยู่ใต้ดิน เมื่อจานรองดอกโรยเหลือแต่หัวปลีซึ่งจะกลายเป็นผล ก่อนออกดอกต้นจะตายเหลือแต่หัวเป็นก้อนกลมสีขาว ขนาด 6-10 ซ.ม.เจริญเติบโตอยู่ใต้ดิน: หัวบุกมีสรรพคุณ มีสารสำคัญต่างๆ มากมาย ลดน้ำตาลในเลือดได้ดี ทางการแพทย์แปรรูปใช้เป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคมีไขมัน มีน้ำตาลในเลือดสูง, ทางด้านโภชนาการ มีการแปรรูปหัวบุกเป็น ''เส้นบุก'' ลักษณะเป็นเส้นเล็กๆใสคล้าย ''เส้นแก้ว'' หรือ วุ้นเส้น(งุ้น) รสอร่อย มีขายทั่วไป นำไปปรุงเป็นอาหารต่างๆ ได้เช่นเดียวกับ เส้นแก้วหรือวุ้นเส้น เหมาะสำหรับหมู่คนที่ลดน้ำหนัก หรือผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน, เหง้าและก้านใบใช้ปรุงเป็นอาหารได้: ส่วนที่เป็นพิษ เหง้าและก้านใบ ถ้าปรุงไม่ดี กินเข้าไปทำให้ปากและลิ้นพอง; ดู...เส้นบุก

ออกเสียงล้านนา
เส้นบุก ออกเสียง เส้น บุ๋ก
อักษรล้านนา
เส้นฯบุก
เทียบอักษรไทย
[เส้นบุก]
ความหมาย

น.เส้นบุก - ภาษาถิ่นเหนือหรือคำเมือง ออกเสียง ''เส้นบุ๋ก''; เส้นบุก หรือ เส้นบุ๋ก แปรรูปมาจากหัวบุก มีลักษณะเป็นเส้นเล็กๆ กลมและยาวคล้ายวุ้นเส้น แต่ใสขาวขุ่นเล็กน้อย นับว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ให้พลังงานต่ำมากๆ อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร ช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น เหมาะกับผู้ที่กำลังควบคุมอาหารลดความอ้วน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น; ดู...บุ๋ก

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำนี้
บุ๋ก (บุก)